SummonBenz logo
Featured / (Updated on )

เล่ากระบวนการสร้างเกม Escape Room ตั้งแต่เริ่มจนจบ

ก่อนเกมจะเริ่มต้น

เหมือนเป็นความคาดหวังของทุกปีไปแล้วของ SCIREN Trip ที่ทุกครั้ง กิจกรรมฝั่งของพี่ ๆ บายเนียร์ จะต้องอลังการงานสร้าง (ก็ดันเล่นใหญ่เองนี่ 555+) จริง ๆ จุดประสงค์ของเกม เริ่มต้นเราแค่อยากหากิจกรรมที่มันมีความเป็น Teamwork เฉย ๆ เพราะว่าตลอดทั้งวันกราฟกิจกรรมจะเน้นให้ความรู้ อยากมีพวกเกมสาย Brainstorm + Action game มาใส่บ้าง แต่เราก็ไม่อยากใช้กิจกรรมที่เคยผ่านมา เพราะน้อง ๆ ที่มาร่วมทริปก็ผ่านการจัดค่ายมาทั้งนั้น เพราะฉะนั้นจึงไม่ได้อยากใช้เกมที่เคยเล่นกันมาก่อน

หลังจาก 2 ปีที่แล้ว กระแสตอบรับเกม Escape Room หรือที่เรียกว่าเกมหนีออกจากห้อง น้อง ๆ ชอบกันมาก แต่ปัญหาก็คือใช้งบการเยอะเกินไป ปีนี้เลยกลับมาทำเกม “ตามหาทางออก” อีกรอบแต่ลดการใช้งบลง 555+

เราได้แรงบันดาลใจกติกา/วิธีการเล่นมาจากเกม Unlock! สามารถเล่น/ซื้อได้ที่ร้านบอร์ดเกมชั้นนำ ลองเล่นแล้วปวดหัวใช้ได้

เราได้แรงบันดาลใจกติกา/วิธีการเล่นมาจากเกม Unlock! สามารถเล่น/ซื้อได้ที่ร้านบอร์ดเกมชั้นนำ ลองเล่นแล้วปวดหัวใช้ได้

1 73 L N8 He B2m Bz Rq Rd Wl124w

 

กติกาโดยคร่าว ๆ คือจะมี GM (Game Master) ถือการ์ดอยู่ ให้คนในทีมตามหาการ์ดใบต่อไปเรื่อย ๆ ว่าต้องนำการ์ดใบไหน รวมไปใบไหนถึงได้คำตอบ บางใบอาจจะต้องใช้แอปพลิเคชันหาคำใบ้ช่วยด้วย รวมไปเรื่อย ๆ จนเมื่อเจอการ์ดที่เป็นทางออกและทำได้ทันเวลา ถือว่าเป็นผู้ชนะ

วางประตูทางออก

หลังจากที่ได้ทดลองเล่นเกม Unlock! กันเองแล้ว ถึงเวลาต้องเริ่มวางปริศนาทำเอง แล้วการ์ดหมายเลขอะไร รวมกับเลขอะไร แล้วได้ใบไหนวางแผนไล่ flow ให้เรียบร้อย ซึ่งยากตรงจะคุมเวลาให้พอดีกับเวลาที่เค้ามีให้นี่แหละ

ยิ่งทำประตูเยอะเท่าไหร่ ยิ่งต้องทำการ์ดเยอะขึ้นเท่านั้นยิ่งทำประตูเยอะเท่าไหร่ ยิ่งต้องทำการ์ดเยอะขึ้นเท่านั้น

ออกแบบการ์ด

หลังจากที่วางแผนเสร็จแล้ว ได้เวลาออกแบบการ์ดที่ใช้เล่นเกมกันแล้ว ซึ่งบอกได้เลยว่าเป็นส่วนที่ใช้เวลามากที่สุด (เพราะดันออกแบบประตูไว้เยอะเอง 555+) บางภาพก็ต้องไปถ่ายภาพสถานที่จริง เพราะว่าหาภาพตาม Google ไม่เจอ แล้วนำมาตัดต่อเพิ่ม

ตัวอย่างการ์ดที่ออกแบบ

ตัวอย่างการ์ดที่ออกแบบ

ออกแบบแอปพลิเคชัน

อันนี้เริ่มเป็นส่วนฝั่ง coding แล้ว อยากทำ process ให้มันง่าย ๆ เพียงแค่ push git ลงไป แล้วให้เครื่อง auto deploy ขึ้นไปเอง และควรฟรี! (เค้าไม่มีตังค์จ่ายแล้ว T^T) เพราะฉะนั้นเลยเลือกใช้ Netlify สำหรับทำ Frontend ซึ่งเขียนด้วยภาษา Vue และใช้ Heroku สำหรับทำ Backend ด้วย Node.js + Express + Socket.io

ทดลองเข้าไปเล่นในได้ที่ https://theexitgame.netlify.com
โดยใช้ Username คือ demo

หน้าตาแอปพลิเคชัน

หน้าตาแอปพลิเคชัน

ฝั่งทางหน้าคุมเกม

เนื่องจากทำเองใช้เอง เลยไม่เน้น UI สวยมาก โดยหน้านี้ สามารถควบคุมเวลา เพิ่ม-ลดเวลา และ Broadcast ข้อความไปถึงผู้เล่น ณ ตอนนั้นได้เลย (ข้อดีของการใช้ Socket.io)

ทดลองเข้าไปเล่นได้ที่ https://theexitgame.netlify.com/#/admin-panel
ต้องเริ่มจับเวลาก่อนถึงจะเล่นเกมได้

หน้าตาฝั่งคุมเกม minimal มาก ๆ 555+

หน้าตาฝั่งคุมเกม minimal มาก ๆ 555+

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ก็เล่นกันเลย

เกมเสร็จแล้ว ต่อไปก็คือบรีฟกติกาสต๊าฟให้เรียบร้อย ทดสอบโดยใช้้โทรศัพท์มือถือทีมงานเข้า แล้วลองรัน flow กันดู อย่าลืมเช็คเรื่องแบตเตอรี่โทรศัพท์ให้เรียบร้อย เพราะต้องออนไลน์กันตลอดเกม 1 ชั่วโมง แบตสำรองเลยต้องเตรียมตัวให้พร้อม

ตัวอย่างสไลด์อธิบายวิธีการเล่นในงาน https://docs.google.com/presentation/d/1Sw6c8wFPUHTZ7QOyQjvJ6JhH46t4es1ismPcqXFOLaM/edit?usp=sharing

เสียดายที่ไม่มีภาพบรรยากาศตอนเล่นให้ดู เพราะไม่มีสต๊าฟคนไหนว่างถ่ายรูปเลย ._. เอาเป็นว่าสนุกมาก เผาหัวกันไปยามค่ำคืน 555+

ช่วงเวลาแจกโค้ด

ใครสนใจศึกษา code วิธีการทำงาน รวมไปถึงตัวอย่างการ์ดเกมที่ใช้เล่นจริง ก็อยู่ใน github เรียบร้อยแล้ว ลองเข้าไปอ่านได้ ซึ่งใช้เวลาเขียนประมาณ 3 วัน บัคเยอะแน่นอน 555+ ใครอยากจะเขียน feature เพิ่มหรือมาช่วยแก้บัค สามารถ pull request ได้นะ สำหรับวันนี้ขอลาไปก่อน แล้วเจอกันโอกาสถัดไปครับ

หมายเหตุ : อนุญาตให้เพื่อการศึกษา ความบันเทิงได้เท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำโค้ดชุดนี้ไปใช้ในเชิงการค้า

Subscribe to Ovidius Newsletter

One update per week. All the latest news directly in your inbox.